คำถามที่พบบ่อย ที่นี่มีคำตอบ

วัดเปิดและปิด เวลาใด?

Q : วัดเปิด/ปิด เวลาใด
A : วัดเปิดตลอดเวลา แต่เวลาทำการโดยปรกติกขอเจ้าหน้าที่ๆ คอยอำนวยความสะดวกในการสักการะบูชา และแก้บน วันจันทร์-ศุกร์ จะเริ่มเวลา ๐๙.๐๐ และสิ้นสุดเวลา ๑๗.๐๐ น.
วันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ จะเริ่มเวลา ๐๗.๓๐ และสิ้นสุดเวลา ๑๘.๐๐ น.

การขอพร และการแก้บน ทำอย่างไร?

อันดับแรก… # เรามารู้จักเรียกนามก่อน หลายท่านยังสงสัยว่าเราจะเรียกว่าอะไร นามคือ “ไอ้ไข่เด็กวัดเจดีย์” การเรียกนามนี้ มิใช่ว่าเราจะแสดงความไม่เคารพ แต่รูปนามของท่านคือนามนี้ การจะเรียกกับคนทั่วไป ท่านจะเรียกอะไรก็แล้วแต่ ด้วยความเคารพของท่านเอง แต่บอกเคล็ดลับเวลาบูชา ขอให้เรียกท่านว่า “ไอ้ไข่เด็กวัดเจดีย์” เพราะ “ไอ้ไข่เด็กวัดเจดีย์” รับรู้นามท่านด้วยนามนี้
การเชิญ “ไอ้ไข่เด็กวัดเจดีย์” เข้าบ้าน ไม่มีพิธีรีตองอะไร ไม่จำเป็นของบอกเจ้าที่เจ้าทาง เพราะตำรานั้นเป็นของกุมารทอง กูรูผู้รู้หลายท่านจึงหลงคิดว่าต้องใช้ตำรานี้ด้วยคิดว่า “ไอ้ไข่เด็กวัดเจดีย์” เป็นกุมารทอง “ไอ้ไข่เด็กวัดเจดีย์” ท่านเองเป็นเทพ เราเพียงตั้งหิ้ง ตั้งโต๊ะบูชา แล้วว่า นะโม ๓ จบ ตามด้วยคาถาบูชา.. อิติ อิติ กุมาระไข่เจดีย์ จะ มหาเถโร ลาภะ ลาภา ภะวันตุเม.. แล้วบอกกล่าวต่อ “ไอ้ไข่เด็กวัดเจดีย์” ขอให้ท่านดูแลช่วยเหลือ อยู่คุ้มครองเราและครอบครัว ให้มีแต่ความสุขความเจริญ (อาจนำของมาถวายด้วยก็จะดี)
การตั้งหิ้ง โต๊ะบูชา.. อันดับแรกถามก่อนว่าจะรวมหิ้งกับพระไหม ถ้ารวมหิ้งกับพระ อันนี้ต้องจัดลำดับสูงกว่าต่ำกว่า พระพุทธ, พระสงฆ์, องค์กษัตริย์, องค์เทพ และ “ไอ้ไข่”
แต่หากแยกหิ้งได้ก็ดี โดยต้องให้หิ้ง “ไอ้ไข่” ต่ำกว่าตามลำดับข้างต้น อุปกรณ์ที่ต้องมี
๑. กระธางธูป ๑ อัน
๒. เชิงเทียน ๒ อัน (๑ คู่)
๓. แจกันดอกไม้ ๒ อัน (๑ คู่) หากพื้นที่แค่ไม่พอ ไม่ต้องมีก็ได้ ให้เป็นถวายเป็นพวกมาลัยแทน แต่การถวายพวงมาลัย หลีกเลี่ยงการแขวนที่องค์บูชา เพราะจะดูไม่เหมาะสม ให้วางใส่พานถวาย
๔. ของถวายควรมีพาน หรือถาดรองรับ ไม่ควรวางกับพื้นหิ้ง และภาชนะ เช่น แก้ว, ถ้วย ฯลฯ ควรแยกกับของใช้ทั่วไป ไม่ใช้รวมกับของคนในบ้าน
๕. ควรรักษาความสะดวกของหิ้ง ให้สะอาดอยู่เสมอ ไม่ควรทิ้งไว้ให้รก (ไม่ต้องเอาขลังครับ) บางท่านชอบทิ้งให้รก เพราะอาจดูขลังดี ทิศที่ควรหันหน้าไป คือ ทิศตะวันออก และทิศเหนือ
ของถวาย.. ถวายเป็นจำพวกขนม ผลไม้ นม น้ำ น้ำแดง ชุดทหาร ของเล่น หรือของที่เด็กชอบ จะถวายโดยการกำหนดวันก็ได้ เช่น วันพระ วันเสาร์ เป็นต้น หรือตามสะดวกก็ได้ เวลาบูชาจุดธูป ๓ ดอก แก้บนจุด ๑ ดอก
การลาของถวาย.. ว่า นะโม ๓ จบ แล้วตามด้วย “เสสัง มังคลัง ยาจามิ” ของถวายเมื่อลาเสร็จ สามารถทานได้ เพื่อความเป็นสิรมงคล แต่ถ้าเป็นของแก้บน โบราณเขาจะถือ ห้ามทาน เพราะเชื่อว่าจะไม่ขาดเหมย (ภาษาใต้) หรือขาดบนกัน
*** อย่าไรก็ตามการบูชา เราต้องบูชาอย่างมีสติ ต้องประกอบด้วยการทำความดีของเราด้วย ยึดถือหลักการปฏิบัติบูชา คือ พูดดี คิดดี ทำดี หมั่นบริจาคทาน เจริญสมาธิ เชื่อมั่นด้วยศรัทธาอันแท้จริง หลีกหนีความงมงาย กันนะครับทุกท่าน
ขอขอบพระคุณข้อมูล จาก อ๊อด ตามพรลิงค์

การขอพร

การแก้บน

ผู้แก้บน จะรับประทานของที่ตนเองนำมาแก้บนได้หรือไม่?

Q : ผู้ที่แก้บนจะรับประทานของที่ตัวเองแก้บนได้หรือไม่ ?
A : ในสมัยโบราณ.. ห้ามผู้บนรับประทานของแก้บนที่ตนเองนำมาแก้บน 
ด้วยนัยยะที่ต้องแสดงให้เห็นถึง เจตนาอันบริสุทธิ์ในการตั้งใจ ถวายสิ่งของนั้น เพื่อเป็นเครื่องบรรณาการ ตอบแทนพระคุณของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หากมีความรู้สึกแอบแฝง เผื่อหวังประโยชน์แห่งตนอยู่ อาทิเช่น ช่วงนี้เห็นทุเรียนมาก อยากทานทุเรียน ก็เลยบนให้ทุเรียน เพื่อที่ว่าเมื่อแก้บนเสร็จแล้ว จะได้ทำมารับประทานเองด้วย อันนี้ถือว่า.. บนเพื่อถวายตัณหาของผู้บน ไม่ได้บนเพื่อตั้งใจถวายสิ่งศักดิ์สิทธิ์
อีกนัยยะหนึ่ง คือ ของแก้บนเมื่อห้ามผู้บนรับประทานแล้วนั้น จึงทำให้ผู้บนต้องแจกจ่ายคนอื่น อันถือเป็นการให้ทานไปในตัว
นอกเหนือจากการทำบุญ ที่เราๆ ท่านๆ มักจะทำกันอยู่แล้ว แต่การทำทานนั้นหลายคนอาจหลงลืมไปแล้วซะด้วยซ้ำ
ทุกกุศโลบายล้วนแล้วแต่มีเหตุ และผล อันซ่อนเร้น
โบราณท่านว่าไว้ ส่วนใครจะเชื่อหรือไม่ ก็แล้วแต่วิจารณญาณ ของแต่ละบุคคล
เครดิต : อ๊อด ตามพรลิงค์

แผนที่แสดงเส้นทางจราจร

ต่อสอบถาม ประชาสัมพันธ์วัดเจดีย์

โทร 0630580338